วัตถุประสงค์

ด้วยสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการจัดทํายุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2570) และแผนระดับชาติอื่นๆ เช่น (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) เป็นต้น ตลอดจนสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สํานักงานจึงจัดให้มีการสํารวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและรัฐ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ที่มีต่อกรอบยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว รวมถึงนโยบาย หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน โดยแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ความเห็น
  • ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุน
  • ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นต่อกรอบยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
  • ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นต่อทิศทางนโยบายการส่งเสริมการลงทุน
  • ส่วนที่ 5 ความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน

ทั้งนี้ สํานักงานขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่เสียสละเวลาอันมีค่าในการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ความเห็น

คำชี้แจง: กรุณาเลือก ◯ ที่ตรงกับท่านมากที่สุด และกรอกข้อความลงในช่องว่าง

กลุ่มผู้ให้ความเห็น
โปรดเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่านมากที่สุด (กรณีเป็น นักลงทุน/พนักงานหรือเจ้าหน้าที่บริษัท)
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุน

คำชี้แจง: โปรดเรียงลำดับตามที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย

ลำดับ คำถาม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
1. โปรดเรียงลำดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 6-สำคัญน้อยที่สุด)
สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน
แหล่งเงินทุนและการสนับสนุนด้านการเงิน
ปัจจัยการผลิต/บริการ เช่น อุตสาหกรรมสนับสนุน วัตถุดิบ/ชิ้นส่วน ทักษะ/จำนวน/ค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนการลงทุนอื่นๆ
ความต้องการและการแข่งขันของตลาด
ความเพียงพอและคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ด้านสาธารณูปโภค และโลจิสติกส์
นโยบายและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุน เช่น การสนับสนุนของภาครัฐ กฎหมาย และความตกลงการค้าเสรี
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนในประเทศไทย
2. โปรดเลือกปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนในประเทศไทย ที่ท่านเห็นว่าควรปรับปรุง (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

คำชี้แจง: โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์ตามที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย

ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย: Targeted Industries)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 3-สำคัญน้อยที่สุด)
การส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainability)
การส่งเสริมการลงทุนตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG
การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแนวทาง Thailand 4.0
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย (ด้านการลงทุนเชิงพื้นที่: Targeted Areas)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 3-สำคัญน้อยที่สุด)
การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น
การส่งเสริมการลงทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความมั่นคงในพื้นที่ เช่น จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ และจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่านนวัตกรรม เป็นต้น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและบริการ (ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม: Technology & Innovation)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 3-สำคัญน้อยที่สุด)
การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย (Core Technology)
การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
การยกระดับอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาบุคลากรไทยและดึงดูดบุคลากรต่างชาติเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ด้านการพัฒนาบุคลากร: Human Resources)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 2-สำคัญน้อยที่สุด)
การพัฒนากำลังคนที่มีทักษะสูง (Highly-skilled Workers)
การดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงจากต่างประเทศ (Highly-skilled Experts / Talents)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ยุทธศาสตร์ที่ 5: การส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน (ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกนักลงทุน: Infrastructure, Laws & Supports)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 3-สำคัญน้อยที่สุด)
การส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โลจิสติกส์ สาธารณูปโภค และท่องเที่ยว เป็นต้น (Supporting Infrastructure)
การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าการลงทุน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Trade Agreements, Laws and Regulations)
การอำนวยความสะดวก ลดอุปสรรค และแก้ปัญหานักลงทุน (Investment Facilitation)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ยุทธศาสตร์ที่ 6: การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน (ด้านการส่งเสริม เชื่อมโยง และยกระดับผู้ประกอบการ: Enterprises)
โปรดเรียงลำดับกลยุทธ์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 3-สำคัญน้อยที่สุด)
การส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจเริ่มต้น และวิสาหกิจชุมชน (Small and Medium Enterprise, Startup and Community Enterprise)
การพัฒนาการเชื่อมโยงผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม (Industrial Linkage Development)
การยกระดับผู้ประกอบการและส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ (Thai Enterprise Development and Thai Overseas Investment)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)

คำชี้แจง: โปรดเรียงลำดับยุทธศาสตร์ตามที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 6-สำคัญน้อยที่สุด)

ยุทธศาสตร์ที่ 1: การส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย: Targeted Industries)
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย (ด้านการลงทุนเชิงพื้นที่: Targeted Areas)
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและบริการ (ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม: Technology & Innovation)
ยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาบุคลากรไทยและดึงดูดบุคลากรต่างชาติเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ด้านการพัฒนาบุคลากร: Human Resources)
ยุทธศาสตร์ที่ 5: การส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน (ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกนักลงทุน: Infrastructure, Laws & Supports)
ยุทธศาสตร์ที่ 6: การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน (ด้านการส่งเสริม เชื่อมโยง และยกระดับผู้ประกอบการ: Enterprises)
ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นต่อทิศทางนโยบายการส่งเสริมการลงทุน

คำชี้แจง: โปรดเรียงลำดับทิศทางนโยบายการส่งเสริมการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า ตามที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 5-สำคัญน้อยที่สุด)

ควรมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งจากในประเทศ ควบคู่กับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ควรมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
ควรมุ่งเน้นส่งเสริมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศ
ควรมุ่งเน้นส่งเสริมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Startups และฐานราก ควบคู่กับการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพอยู่แล้ว
ควรมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ที่ห่างไกล ควบคู่พื้นที่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว
ส่วนที่ 5 ความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน

คำอธิบาย : หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน

  1. ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
  2. ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยาย จะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
  3. ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่ม
    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
  4. ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
  5. ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ กรณีการใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
  6. ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ

คำชี้แจง: กรุณาเลือก ◯ ที่ตรงกับท่านมากที่สุด และกรอกข้อความลงในช่องว่าง

ลำดับ คำถาม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เกี่ยวข้องในส่วนนี้
1. ปัจจัยในการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน
- ขนาดการลงทุน
- อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน
- มูลค่าเพิ่ม
- กรรมวิธีการผลิต
- การลงทุนเครื่องจักร
- มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
2. เกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน(กรณีที่ท่านมีความเห็นว่าไม่เหมาะสม โปรดให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าเกณฑ์ควรเป็นอย่างไร)
- ขนาดการลงทุน ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
- อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม
- มูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ (ยกเว้นกิจการเกษตรกรรม กิจการอิเล็กทรอนิกส์ และกิจการตัดโลหะ ที่มูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
สิทธิและประโยชน์ด้านการลงทุน
1.
สิทธิและประโยชน์ด้านการลงทุนในปัจจุบัน มีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
2.
การกำหนดสิทธิและประโยชน์พื้นฐานในปัจจุบัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี (กลุ่ม A) และกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (กลุ่ม B) มีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
3.
การให้สิทธิและประโยชน์ควรพิจารณาจากเทคโนโลยีที่ใช้มากกว่าขนาดการลงทุน (ถึงแม้เงินลงทุนสูง หากเทคโนโลยีไม่เหมาะสมก็ไม่ควรให้การส่งเสริม)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
4.
การให้สิทธิและประโยชน์ควรพิจารณาตามคุณค่าของแต่ละโครงการมากกว่าพิจารณาจากประเภทกิจการ (ประเภทกิจการเดียวกันอาจให้สิทธิและประโยชน์ต่างกัน)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
5. โปรดเรียงลำดับสิ่งที่ควรใช้พิจารณาในการให้สิทธิและประโยชน์ที่ท่านเห็นว่าสำคัญจากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 5-สำคัญน้อยที่สุด)
ขนาดการลงทุน
เทคโนโลยีที่ใช้ / มีการวิจัยและพัฒนาในโครงการ
การถ่ายทอดเทคโนโลยี / ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา
การจ้างงานบุคลากรทักษะสูง
การตั้งโครงการในพื้นที่เป้าหมาย
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
1.
ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
2.
การแบ่งประเภทกิจการออกเป็น 8 หมวดตามอุตสาหกรรม ในปัจจุบัน มีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
3.
สิทธิและประโยชน์ของประเภทกิจการที่ท่านเกี่ยวข้องในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
4.
เงื่อนไขของประเภทกิจการที่ท่านเกี่ยวข้องในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน
1. โปรดเรียงลำดับมาตรการที่ท่านเห็นว่าสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก จากมากไปน้อย (1-สำคัญมากที่สุด ถึง 5-สำคัญน้อยที่สุด)
Merit เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน (การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมกรณีมีเงินลงทุน/ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่กำหนด เช่น การวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมด้าน STEM)
Merit เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค (การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมใน 20 จังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำ)
Merit เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม (การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในนิคม/เขตอุตสาหกรรม)
การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในย่านนวัตกรรมการแพทย์
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
มาตรการส่งเสริมการลงทุน SMEs
มาตรการส่งเสริมการลงทุน เศรษฐกิจฐานราก
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
มาตรการเร่งรัด / กระตุ้นการลงทุน
มาตรการส่งเสริม จดทะเบียนใน SET / mai
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่นๆ (ถ้ามี)